รองโฆษกรัฐบาล ได้ชี้แจงในกรณี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หลังมีการเผยแพร่มาว่ามีระเบียบใหม่ให้ ขรก. บำนาญ รับเบี้ยได้ด้วย โดยยืนยันว่ายังคงใช้ เกณฑ์ เดิม ไม่มีการจ่ายซ้ำ/เพิ่ม (2 ก.ย. 2565) รองโฆษกรัฐบาล ได้ทำการชี้แจงภายในกรณี เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยให้การยืนยันว่าจะยังคงใช้งาน เกณฑ์ – หลักการเดิม ไม่มีการจ่ายซ้ำซ้อน หรือเพิ่มเติมให้กับสิทธิ์ประโยชน์อื่น แต่อย่างใด หลังจากที่มีการเผยแพร่ของข่าวที่ว่าได้มีการออกระเบียบการใหม่ที่เอื้อประโยชน์ให้ข้าราชการบำนาญสามารถรับเบื้ยส่วนนี้ด้วย
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กล่าวว่า ตามที่ได้มีการส่งต่อข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุว่าขณะนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้กลุ่มผู้ได้รับบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษหรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันจากรัฐ สามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้อีกทางหนึ่งด้วยนั้น
รัฐบาลขอชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยังยึดหลักเกณฑ์ตามระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุ (กผส.) และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่เพิ่มเติม พ.ศ. 2561 ที่กำหนดไม่ให้มีการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนกับประโยชน์อื่น
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้เกิดกรณีที่ผู้สูงอายุที่รับบำนาญ หรือเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เช่น การรับบำนาญต่อจากบุตรที่เสียชีวิตแล้ว ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วย กระทั่งเกิดกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฟ้องร้องเรียกเบี้ยยังชีพคืนเนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้สูงอายุจากกรณีดังกล่าว คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 ที่ผ่านมา ได้มีมติให้คืนเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่รับประโยชน์ซ้ำซ้อนที่ได้นำเงินมาคืนทางราชการแล้ว จำนวน 28,345 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 245.24 ล้านบาท รวมทั้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถอนฟ้องหรือระงับการบังคับคดีกรณีที่ได้มีการดำเนินคดีเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยทั้งหมดให้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ ครม.มีมติ
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า จากปัญหาข้างต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงอยู่ระหว่างการนำเสนอแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อคณะกรรมการผู้สูงอายุ(กผส.) เพื่อให้เกิดความชัดเจน เมื่อมีระเบียบของ กผส. ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทรวงมหาดไทยจะได้ปรับปรุงระเบียบให้สอดคล้องกัน และประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป
ดังนั้น ในระหว่างระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงให้เกิดความชัดเจน การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ ปัจจุบันจึงยังต้องยึดหลักเกณฑ์เดิมนั่นคือ ต้องเป็นผู้ มีสัญชาติไทย อายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใจจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน แต่ไม่รวมถึงผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์ หรือผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.
น.ส.ไตรศุลี กล่าวปิดท้ายว่า “ขณะนี้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างดำเนินการวางแนวนโยบายและกฎระเบียบให้มีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากระทบกับผู้สูงอายุอีก เมื่อมีความชัดเจนแล้วจะประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป จึงขอให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุติดตามตรวจสอบประกาศระเบียบที่เป็นทางการ ไม่หลงเชื่อข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์โดยง่าย”
โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 เริ่มเปิดให้ใช้ได้แล้ว วันนี้ (1 ก.ย.)
โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 เริ่มเปิดให้ใช้งานได้แล้ว ภายในวันนี้ (1 ก.ย. 2565) ระหว่างเวลา 06.00-22.59 น. ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง โดยมีวงเงิน 800 บาท/คน – ใช้ได้ 150 บาท/วัน
(1 ก.ย. 2565) โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ได้เปิดให้สามารถใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 โดยเป็นการดำเนินการผ่านทางแอปพลิเคชันเป๋าตัง ผู้เข้าร่วมโครงการนั้น จะได้รับวงเงิน 800 บาท/คน และใช้งานได้ 150 บาท/วัน ภายในช่วงเวลา 06.00-22.59 น. ทางกระทรวงการคลังก็ได้แนะนำให้ทำการโอนเงินก่อนการใช้งานทุกครั้ง หรือในเวลาอื่น ๆ เพื่อเลี่ยงการล่มของระบบ
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า โครงการคนละครึ่ง (โครงการฯ) ระยะที่ 5 จะเริ่มใช้จ่ายได้ในวันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565) เป็นต้นไป จนถึงวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2565 ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ซึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับวงเงินสนับสนุนค่าสินค้าและบริการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ในอัตราร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน และไม่เกิน 800 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการ
สำหรับการเริ่มใช้จ่ายตามโครงการฯ ระยะที่ 5 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) ได้เตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตังของประชาชน อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความแออัดในการใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตังในวันแรกจำนวนมากพร้อม ๆ กัน
ในส่วนของประชาชนที่จะเติมเงินเข้า G-Wallet สามารถเตรียมโอนเงินเข้า G-Wallet ไว้ล่วงหน้า หรือทยอยเติมเงินในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนประชาชนที่จะใช้จ่ายผ่านเป๋าตัง สามารถทยอยใช้จ่ายครั้งแรกได้ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 ระหว่างเวลา 06.00 น. – 22.59 น. จนถึงวันพุธที่ 14 กันยายน 2565 ระหว่างเวลา 06.00 น. – 22.59 น.
ทั้งนี้ ประชาชนรายใหม่ที่ไม่เคยใช้สิทธิโครงการฯ ระยะที่ 4 (ประชาชนรายใหม่ฯ) จะต้องยืนยันตัวตนและมีเงินใน G-Wallet ก่อน จึงจะสามารถใช้จ่ายตามโครงการฯ ระยะที่ 5 ได้
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง